งานระบบคมนาคมขนส่ง (Transportation Solution: TS)

บริษัทฯ เป็นบริษัท SI ที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานวิศวกรรมวางระบบคมนาคมและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System: ITS) หรือโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีการเดินรถและขนส่งมวลชนสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit: MRT) ระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train: CT) ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรล (Monorail) และระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit: BRT) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยจะต้องใช้องค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านเพื่อออกแบบระบบและเชื่อมต่อเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนประเภทต่างๆ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีการควบคุมระยะไกล เทคโนโลยีการเก็บรวบรวมข้อมูลอัตโนมัติ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากแบบทันทีทันใด (Real-Time) ฯลฯ เข้าด้วยกัน

ที่ผ่านมาบริษัทฯ มีประสบการณ์ด้านโซลูชั่นระบบปฏิบัติการการเดินรถและซ่อมบำรุงระบบขนส่งมวลชนตามขอบเขตงานที่ตกลงตามสัญญากับผู้ว่าจ้าง ในลักษณะการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ประกอบไปด้วยการให้คำปรึกษา การออกแบบระบบทางวิศวกรรมและการเดินรถ การจัดหาอุปกรณ์และโซลูชั่นระบบปฏิบัติการ การติดตั้งและการเชื่อมต่อระบบ การซ่อมบำรุง และการฝึกอบรม โดยครอบคลุมงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (Electrical and Mechanical System: E&M) ที่เป็นระบบสำคัญสำหรับการเดินรถและการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ประกอบด้วย ระบบไฟฟ้าหลัก (Power Supply) ระบบสื่อสาร (Communication System) ระบบควบคุมและสั่งการระยะไกล (Supervisory Control and Data Acquisition System: SCADA System) ระบบอาณัติสัญญาณ (Signalling System) ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (Automatic Fare Collection System: AFC) ระบบกั้นประตูชานชาลา (Platform Screen Door: PSD) ระบบขบวนรถ (Rolling Stock) ระบบบริหารอาคาร (Building Management System) และระบบจัดการศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (Depot Workshop Facility) เป็นต้น

แผนภาพแสดงงานระบบ E&M สำหรับโซลูชั่นระบบปฏิบัติการการเดินรถและซ่อมบำรุง

รายละเอียดระบบงานหลัก และลักษณะการทำงาน ที่บริษัทฯ ให้บริการ
วางระบบในโครงการระบบขนส่งมวลชน มีรายละเอียด ดังนี้

ระบบไฟฟ้าหลัก (Power Supply)

ระบบไฟฟ้ากำลังที่ใช้ในระบบขนส่งมวลชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ระบบไฟฟ้ากำลังที่จ่ายให้กับระบบรางโดยสถานีไฟฟ้าย่อย (Traction Substation) และระบบไฟฟ้ากำลังที่จ่ายให้กับสถานีรถไฟฟ้าโดยสถานีไฟฟ้าย่อย (Service Substation)

องค์ประกอบหลักของระบบไฟฟ้ากำลังในระบบขนส่งมวลชน ได้แก่
  • ระบบไฟฟ้าแรงสูง (HV) 115kV
    • สถานีแม่ข่าย (Bulk Substation)
  • ระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลาง (MV) 22kV/24kV
    • สถานีไฟฟ้าย่อยสำหรับสถานี (Service Substation)
    • สถานีไฟฟ้าย่อยสำหรับระบบราง (Traction Substation)
  • ระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ (LV) 400V
    • ตู้แผงบริภัณฑ์ประธานรวมแรงต่ำ (Main Distribution Board)

บริษัทฯ ให้บริการในการออกแบบ ติดตั้ง และควบคุมงานระบบไฟฟ้ากำลัง ที่จำหน่ายพลังไฟฟ้าให้กับสถานีรถไฟฟ้า (Auxiliary Power Supply) และระบบไฟฟ้ากำลังสำหรับระบบรางรถไฟฟ้า (Traction Power Supply) ไม่ว่าจะเป็นระดับแรงดัน 115kV 24 kV และ 22kv

งานติดตั้งระบบไฟฟ้าหลัก

เป็นระบบที่ออกแบบเพื่อเป็นช่องทางในการรองรับการสื่อสาร ส่งข้อมูลให้กับทุกระบบในโครงการรถไฟฟ้าที่มีการติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลระหว่างกัน รองรับการส่งข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งการส่งข้อมูลระยะใกล้และระยะไกล การส่งข้อมูลผ่านสายสัญญาณ และการส่งข้อมูลแบบไร้สาย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความทันสมัย สอดคล้องรองรับกับเทคโนโลยีที่กำลังจะมาถึงในอนาคต ซึ่งนอกจากระบบสื่อสารสำหรับรถไฟฟ้าแล้วบริษัทฯ มีประสบการณ์ด้านงานโครงการระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System) ประกอบด้วยระบบต่างๆ ดังนี้

  • ระบบ BTN : Backbone Transmission Network
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ IT : Information Technology System
  • ระบบโทรศัพท์ TEL : Telephone System
  • ระบบวิทยุสื่อสารดิจิตอล DRS : Digital Radio System
  • ระบบบรอดแบนด์สื่อสารไร้สาย BWDS : Broadband Wireless Data System
  • ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด CCTV : Closed Circuit Television System
  • ระบบประกาศเสียงสาธารณะ PA : Public Address System
  • ระบบแสดงข้อมูลการเดินรถผ่านจอแสดงผล PIDS : Passenger Information Display System
  • ระบบเวลามาตรฐาน MCS : Master Clock System

ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้บริการครอบคลุมทั้งการออกแบบ ติดตั้ง และการบริการซ่อมบำรุงตลอด ระยะเวลาการรับประกัน โดยมีทีมงานสนับสนุนงานด้านต่างๆ ที่ครบครัน รวมถึงเครื่องมือพิเศษเฉพาะด้าน เพื่อให้ลูกค้าและผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าระบบที่ได้ใช้บริการนั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย

งานติดตั้งระบบสื่อสาร

ระบบ SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) เป็นระบบการส่งข้อมูลในระยะไกลเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เก็บข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติการต่างๆ ที่มีหน่วยควบคุมอยู่ห่างไกล ซึ่งสะดวกสำหรับการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการระบบต่างๆ โดยจะมีการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอลผ่านทางระบบเครือข่ายโทรคมนาคม องค์ประกอบหลักของระบบ SCADA ได้แก่

  • หน่วยควบคุมระยะไกล (Remote Terminal Unit)
  • ระบบสื่อสาร (Communication System)
  • ระบบสื่อสาร (Communication System)
ซึ่งระบบ SCADA ได้ถูกนำมาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับงานรถไฟฟ้า ดังนี้
  1. คุมควบงานจ่ายกระแสไฟฟ้าที่รับจากหน่วยจ่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้า (Bulk Substation) เพื่อเข้ามาจ่ายในสถานี แรงดันไฟฟ้า 24 KV 69 KV และ 115 KV
  2. ควบคุมงานจ่ายกระแสไฟฟ้าลงระบบราง (Power Rail for Railway)
  3. ดูแลและควบคุมสถานการณ์ทำงานของระบบต่างๆ ทั้งหมดในสถานีทางผู้ให้บริการเดินรถจะทำการติดตามและควบคุมระบบย่อยทั้งหมดในโครงการจากห้องควบคุม (Central Control Room: CCR) ซึ่งประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆ ดังต่อไปนี้

Interface Diagram
  1. SIG (Signalling) คือ ระบบควบคุมการเดินรถหรือระบบอาณัติสัญญาณ
  2. PSY (Power Supply) คือ ระบบจ่ายไฟ ตั้งแต่ไฟที่จ่ายให้กับรางที่ 3 (3rd Rail or Power Rail) จนถึงไฟฟ้าที่จ่ายให้กับสถานีเพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์แต่ละระบบ
  3. BMS (Building Management System) คือ ระบบอาคาร เช่น ลิฟท์ บันไดเลื่อน ระบบดับเพลิง ระบบปรับอากาศ ระบบน้ำที่ใช้ในอาคาร ระบบไฟฟ้าอาคาร เป็นต้น
  4. FCS (Fixed Communication System) คือ ระบบสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย ระบบ Network ระบบโทรศัพท์ ระบบนาฬิกา ระบบวิทยุ ระบบกล้องวงจรปิด เป็นต้น
  5. PSD (Platform Screen Doors) คือ ระบบประตูกั้นชานชาลา
  6. AFC (Automatic Fare Collection System) คือ ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีห้องปฏิบัติการในการทดสอบระบบ SCADA ก่อนนำไปติดตั้งจริง ตลอดจนการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบของลูกค้าจะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

ห้องปฏิบัติการทดสอบควบคุมและสั่งการระยะไกลของบริษัทฯ

ระบบที่มีหน้าที่ควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของขบวนรถไฟ ให้หยุด ให้ชะลอความเร็ว บังคับทิศทาง รวมทั้งให้สัญญาณในการเดินรถให้มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เป็นระเบียบ หรือแม้แต่ในกรณีที่มีความผิดพลาดก็ยังคงให้ความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารอยู่ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักใหญ่ๆ ดังนี้

  • ระบบควบคุมการเดินรถจากส่วนกลาง (CTC Centralized Traffic Control System) หน้าที่หลัก ประกอบด้วย สนับสนุนการเดินรถ วางแผนและจัดการกำหนดการเดินรถ ตรวจติดตามรถไฟ สถานะของรถไฟ และควบคุมระบบการเดินรถ
  • ระบบคอมพิวเตอร์ใช้ในการบังคับล็อคสัมพันธ์ (Interlocking System) ทำหน้าที่ควบคุมการเดินรถ ควบคุมอุปกรณ์ของระบบอาณัติสัญญาณที่ติดตั้งใรระบบราง ทางวิ่ง และป้องกันไม่ให้รถไฟเข้าไปในพื้นที่อันตรายในการเดินรถ
  • ระบบควบคุมการเดินรถในขบวนรถ (On-board System) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานผิดพลาดของการเดินรถอัตโนมัติที่ติดตั้งอยู่บนรถ หน้าที่หลักประกอบด้วย ตรวจติดตามความเร็วของรถไฟ ตรวจทิศทางและตำแหน่งของรถไฟ และการขับรถอัตโนมัติ ควบคุมระยะห่างของรถไฟ สั่งการทำงานของระบบ เบรค และการจอด สั่งการทำงานเปิดปิดประตูรถไฟ
  • ระบบการส่งสัญญาณวิทยุควบคุม (RTS Radio Transmission System) เครือข่ายดิจิทัลสำหรับการสื่อสารแบบสองทิศทางที่ใช้ในการติดตาม และสื่อสารระหว่างรถไฟ

บริษัทฯ ให้บริการในการติดตั้ง และซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาการรับประกัน

ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ อยู่ในชั้นจำหน่ายตั๋วเป็นระบบปิด ที่ผู้โดยสารทุกคนต้องถือบัตรโดยสารที่ใช้ได้ ผ่านเข้าสู่ Paid Area ของสถานีต้นทาง และผ่านออกจาก Unpaid Area ของสถานีปลายทางเมื่อสิ้นวัน ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งเข้ามาประมวลผลที่คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Central Computer) โดยบริษัทฯ เป็นผู้ออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ในระบบดังนี้

  • ติดตั้งเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ (TIM/TVM)
  • ติดตั้งเครื่องวิเคราะห์/ออกบัตร (POS: Point of Sales) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการออกบัตร Smart Pass เติมมูลค่า เติมเที่ยวการเดินทาง และวิเคราะห์สถานะของบัตรโดยสาร ทั้งนี้ ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ดังนี้
    - ห้อง SCR
    • ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลระบบสมาร์ทพาส (Station Data Concentrator: SDC)
    • เครื่องวิเคราะห์ออกบัตร (Point Of Sales: POS)
    • AFC-Network
    • AFC-Fire Alarm
    • AFC-Power Fail

    - ห้อง TIM
    • เครื่องจำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติ (Ticket Vending Machine: TVM)

    - GATE ARRAY (PAID/ UNPAID)
    • ประตูอัตโนมัติ (Automatic Gate: AG)
    • ประตูเปิด/ ปิด (Flush Gate: FG)
งานติดตั้งระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ประตูกั้นชานชาลา คือ ระบบประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติที่นำมาประยุกต์ใช้ติดตั้งบริเวณชานชาลาสถานีรถไฟใต้ดินและสถานีรถไฟลอยฟ้าที่ทันสมัย ระบบนี้ยังทำหน้าที่รับ/ส่งคำสั่งการปิด/เปิด และตรวจสอบสถานะของ ประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Door) เพื่อผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้อย่างปลอดภัย และเพื่อป้องกันผู้โดยสารหรือสิ่งของตกลงไปในรางวิ่ง ทั้งยังสามารถช่วยควบคุมอุณหภูมิในสถานีที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป ระบบทำงานสัมพันธ์กับระบบประตูของขบวนรถ และระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ตั้งแต่ก่อนเปิดใช้งานระบบรถไฟฟ้า หรือสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้หลังจากเปิดใช้งานระบบรถไฟฟ้า โดยปัจจุบัน ประตูกั้นชานชาลาเป็นที่นิยมใช้ในรถไฟฟ้าหลายประเทศทั่วโลก

รูปแบบของประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา
  • ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบเต็มความสูง (Full Height-Platform Screen Doors)
    ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบเต็มความสูง จะติดตั้งเป็นชุดบานประตูบานเลื่อนอัตโนมัติ (Automatic Sliding Doo: ASD) และแผงกระจกกั้น (Fixed Glass Panel: FGP) มีความสูงจากพื้น จนถึงฝ้า เพดานของชานชาลา โดยประตูกั้นชานชาลารูปแบบนี้ จะมีชุดมอเตอร์ขับเคลื่อน (Fixed Drive Panel: FDP) อยู่ด้านบนของบาน ประตูเลื่อนอัตโนมัติ (ASD) มักจะติดตั้งในสถานีที่มีระบบปรับอากาศต้องการควบคุมอุณหภูมิเพื่อมิให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้
  • ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบกึ่งเต็มความสูง (Platform Edge Doors)
    ประตูกั้นชานชาลา แบบกึ่งเต็มความสูง จะติดตั้งเป็นชุดบานประตูเลื่อน (Automatic Sliding Door: ASD) และแผงกระจกกั้น (Fixed Glass Panel: FGP) โดยมีความสูงจากพื้น จนถึงความสูงระดับ ความสูงสูงสุดของขบวนรถไฟฟ้า หรือสูงกว่าเล็กน้อย ประตูกั้นชานชาลารูปแบบนี้ จะมีชุดมอเตอร์ขับ เคลื่อน (Fixed Drive Panel: FDP) อยู่ด้านบนของบานประตูเลื่อน (ASD) เช่นเดียวกับแบบแรก มักจะติดตั้งในสถานีที่ไม่มีระบบปรับอากาศ และต้องการการหมุนเวียนของอากาศภายในสถานี
  • ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบครึ่งความสูง (Half Height-Platform Screen Doors)
    ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบครึ่งความสูง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประตูกั้นชานชาลาอัตโนมัติ (Automatic Platform Gates: APG) จะติดตั้งเป็นชุดบานประตูเลื่อน (Automatic Sliding Door: ASD) และแผงกระจกกั้น (Fixed Glass Panel: FGP) โดยมีความสูงจากพื้นจนถึงความสูงระดับ ความสูงระดับอกถึงระดับศีรษะของผู้โดยสาร ประตูกั้นชานชาลารูปแบบนี้ จะมีชุดมอเตอร์ขับเคลื่อน (Fixed Drive Panel: FDP) อยู่ด้านข้างของบานประตูเลื่อนอัตโนมัติ (ASD) มักจะติดตั้งในสถานีที่ไม่มีระบบปรับอากาศหรือสถานีลอยฟ้าและต้องการการหมุนเวียนของอากาศภายในสถานี และทัศนียภาพบริเวณที่สวยงาม
    บริษัทฯ ให้บริการในการออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบระบบแบบบูรณาการ ฝึกอบรมพนักงานสำหรับลูกค้า และซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาการรับประกัน
งานติดตั้งระบบกั้นประตูชานชาลา

บริษัทฯ ให้บริการในการจัดหาและติดตั้ง พร้อมทั้งทดสอบระบบสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า อาทิ เช่น ระบบการยกรถไฟ การถอด/ประกอบ อุปกรณ์รถไฟฟ้า ระบบล้างรถไฟฟ้าอัตโนมัติ อุปกรณ์การกู้รถไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน รถบริการงานซ่อมบำรุง รวมถึงเครื่องมือสำหรับงานซ่อมบำรุงต่างๆ สำหรับการเดินรถไฟฟ้า เป็นต้น

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญพิเศษทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการติดตั้ง และทดสอบ ระบบ รวมถึงการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมการรับประกันอุปกรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

งานติดตั้งระบบจัดการศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า
a