การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ

บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “AMR”) จัดตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1.0 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจ ด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น (System Integrator: SI) รวมถึงให้บริการงานดูแลรักษาและซ่อมบำรุงระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ แบบครบวงจร ถือหุ้นโดยกลุ่มวิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากกว่า 20 ปี

ภายใต้วิสัยทัศน์ของทีมผู้บริหาร นำโดยนายณัฏฐชัย ศิริโก ตำแหน่งกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่เชื่อว่าเทคโนโลยีที่ถือกำเนิดขึ้นคือสิ่งที่จะกำหนดชีวิต ในอนาคต ส่งผลให้บริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยนผ่านโมเดลธุรกิจการบริหารจัดการข้อมูล หรือรูปแบบการให้บริการเข้าสู่ยุคดิจิตอล ซึ่งโครงการแรกของบริษัทฯ คือการวางระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์คให้กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งนับเป็นก้าวแรกสู่โครงการอื่นๆ ต่อมา อาทิ การวางระบบค้นหาข้อมูลและการเชื่อมโยงกฎหมายไทยให้กับสำนักงานกฤษฎีกา การติดตั้งและบริการมิเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติแบบ TOU (Time of Use Rate) ให้กับการไฟฟ้านครหลวง งานระบบตรวจวัดระดับน้ำและ อุปกรณ์สำหรับบริหารจัดการน้ำให้กับกรมชลประทาน ซึ่งเป็นระบบการบริหารจัดการน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย รวมถึงระบบบริหารจัดการฟรีแท็กโซน แอร์คาร์โก สนามบินสุวรรณภูมิ

ในปี 2548 บริษัทฯ เห็นโอกาสทางธุรกิจด้านการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีระบบคมนาคมขนส่งรองรับการขยายตัวทางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงได้เริ่มมีการขยายฐานรายได้ไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมวิศวกรรมระบบราง (Railway Engineering System) โดยในช่วงแรกบริษัทฯ เป็น SI ให้กับผู้ผลิตเทคโนโลยีระบบรางและอากาศยานระดับโลกรายหนึ่ง ในการนำโซลูชั่นระบบปฏิบัติการเดินรถและระบบอาณัติสัญญาณ ของผู้ผลิตมาใช้งานร่วมกับระบบรถไฟในประเทศไทยทั้งรถไฟดีเซลและระบบรถไฟฟ้า ในโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายสื่อสารหลัก (Backbone Network) สำหรับโครงการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และต่อมาในปี 2549 บริษัทฯ ได้ติดตั้งโครงข่ายระบบสื่อสารและระบบไฟฟ้าสำหรับโครงการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณให้กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวนรวม 27 สถานี และเปลี่ยนชุดระบบอาณัติสัญญาณในรถไฟฟ้า 24 ขบวน

ในปี 2558 บริษัทฯ ลงนามในสัญญาจ้างงานออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (Electrical and Mechanical System: E&M) ระบบเดินรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้ สถานีแบริ่ง-สถานีเคหะฯ จำนวนรวม 9 สถานี และสายเหนือ สถานีหมอชิต-สถานีคูคต จำนวนรวม 16 สถานี และระบบศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot Facilities) จำนวน 2 แห่ง ดำเนินงานภายใต้กิจการร่วมค้า

ในปี 2559 ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาจ้างงานออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) แบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Project) ให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี - สถานีคลองสาน ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่บริษัทสัญชาติไทยออกแบบติดตั้งและบริหารงานระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดแบบเบ็ดเสร็จ ระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง นับเป็นระบบขนส่งมวลชนสายรอง (Feeder Line) โครงการนำร่องที่ใช้ระบบรถล้อยางแบบไร้คนขับ (Automatic People Mover: APM) แบบเดียวกับที่ใช้ในสนามบินชั้นนำทั่วโลกเป็นขบวนแรกในประเทศไทย

สรุปลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญของบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน)

2542
2545
2547
2548
2549
2550
2556
2559
2561
2562
2563
2564
2565
2542
จัดตั้งบริษัทฯ เพื่อดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรรม ออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น (System Integrator: SI)
2545
พัฒนาระบบมิเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติแบบ TOU จำนวน 20,000 เครื่อง ให้กับการไฟฟ้านครหลวง
2547
พัฒนาระบบสืบค้นและบริการฐานข้อมูลกฎหมาย ให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
2548
ออกแบบติดตั้งระบบโครงข่ายสื่อสารหลัก (Backbone Network) จำนวน 42 สถานี ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย
2549
เป็นบริษัทสัญชาติไทยรายแรกที่ได้รับงานออกแบบและติดตั้งโครงข่ายระบบสื่อสารและระบบไฟฟ้าให้กับสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 27 สถานี และเปลี่ยนชุดระบบอาณัติสัญญาณในรถไฟฟ้า 24 ขบวน
2550
พัฒนาระบบตรวจวัดและคาดการณ์น้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้กับกรมชลประทาน และระบบบริหารจัดการน้ำสำหรับกรุงเทพมหานคร
2556
เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท
2559
ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2008
ออกแบบและติดตั้งระบบ E&M โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายใต้ สถานีแบริ่ง - สถานีเคหะฯ จำนวน 9 สถานี และสายเหนือ สถานีหมอชิต - สถานีคูคต จำนวน 16 สถานี และระบบศูนย์ซ่อมบำรุง จำนวน 2 แห่ง (ภายใต้กิจการร่วมค้า)
2561
ออกแบบติดตั้งและบริหารงานระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดแบบเบ็ดเสร็จให้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองสถานีกรุงธนบุรี
สถานีคลองสาน ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ให้บริการรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ (Automatic Passenger Mover:APM)
ร่วมลงทุนในบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด (RTC) ด้วยสัดส่วนร้อยละ 10 เพื่อพัฒนาธุรกิจให้บริการเดินรถขนส่งมวลชนสายรอง (Feeder Line) เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนสายหลักในจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดเชียงใหม่
พัฒนาระบบเส้นทางการเดินรถแบบปรับเปลี่ยนข้อความและภาพอัตโนมัติ (Digital Route Map System: DRMS) และ นำไปแสดงในงานแสดงสินค้าด้านเทคโนโลยีการขนส่งทางรถไฟ InnoTransณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันติดตั้งใช้งานจริงบนรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT
เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50 ล้านบาท เป็น 100 ล้านบาท
2562
ลงนามในสัญญาจ้างออกแบบและติดตั้งระบU SCADA, Power rail และ Building Service สำหรับระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง
2563
ร่วมมือกับบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พัฒนาธุรกิจรถไฟฟ้าระบบราง ขานรับนโยบายรัฐพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย
ร่วมมือกับบริษัท ไอทีเซค (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อพัฒนาธุรกิจไซเบอร์ซิเคียวริตี้ของประเทศไทยให้เติบโตและมั่นคงมีมาตรฐานระดับสากล
ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ให้แก่ภาคการเกษตรและสังคมดิจิทัล
ร่วมมือกับสมาคมไทยซับคอน และบริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรส ซิ่ง จำกัด ในการพัฒนาโครงการระบบตัวรถไฟฟ้าขนาดรอง (Feeder Line) ผลักดัน Thai Team พัฒนารถไฟฟ้าระบบรางโดยคนไทย เพื่อคนไทย
เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 125 ล้านบาท จาก 100 ล้านบาทเป็น 225 ล้านบาท
2564
ลงนามความร่วมมือร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทศบาลเมืองป่าตอง บริษัท พรีเข้นต์ เทคโนโลยี จำกัด และกฎบัตรสุขภาพสมาคมการผังเมืองไทย เพื่อพัฒนาภูเก็ตเป็นเมืองเขียวอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวและด้านคมนาคมขนส่งเขียว
แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน)
แปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ จาก 100 บาทต่อหุ้น เป็น 0.50 บาทต่อหุ้น
เพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 75 ล้านบาท จาก 225 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 150,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 0.50 บาทต่อหุ้น และอนุมัติให้มีการจัดสรรหุ้น เพื่อเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering:IPO) เป็นจำนวนไม่เกิน 150,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 0.50 บาทต่อหุ้น
วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เริ่มทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศเป็นครั้งแรก (First Trading Day)
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ "การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง" เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง 7 ภาคีเครือข่ายรวม 72 หน่วยงาน ในการสนับสนุนส่งเสริมและใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบรางในด้านต่าง ๆ
ได้รับการคัดเลือกจาก FTSE SET Index เข้าคำนวณในกลุ่ม Small Cap ซึ่งเป็นดัชนีหลักทรัพย์ระดับนานาชาติ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2564
ลงนามสัญญาจ้าง โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 81 ซอยแบริ่ง) ส่วนที่ 1 (งานโยธาและงานไฟฟ้า)
เปิดตัวตู้สลับแบตเตอรี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนนโยบาย EGAT Carbon Neutrality เพื่อลดปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศและฝุ่น PM 2.5 จากภาคขนส่ง
2565
มกราคม ลงนามสัญญาว่าจ้างงานเปลี่ยนระบบสายไฟลงดินส่วนต่อขยายรถไฟสายสีเขียว มูลค่า 469 ล้านบาท
กุมภาพันธ์ ลงนามสัญญาติดตั้งท่อใต้ดินและวางเคเบิลใยแก้ว เส้นทาง สตูล-หาดใหญ่ ระยะทางรวม 202 กิโลเมตร มูลค่า 132 ล้านบาท
มีนาคม ลงนามสัญญาว่าจ้างงานเปลี่ยนระบบสายไฟลงดินส่วนต่อขยายรถไฟสายสีเขียว มูลค่า 216 ล้านบาท
เมษายน ลงนามสัญญาว่าจ้างงานกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ในโครงการพัฒนาสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ 3 สถานี จำนวน 9 ตู้
เมษายน มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อในสายอาชีพ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง จำนวน 15 ทุน ภายใต้โครงการ "ปั้นช่าง สร้างชาติ"
สิงหาคม ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท ออโตเมชั่น แอนด์ เทคโนโลยี่ เซอร์วิส จำกัด พิจารณาแนวทางการร่วมทุนในธุรกิจโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันชื้อเพลิงและเพื่อเป็นการช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติก
สิงหาคม ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยีจำกัด (มหาชน) (AJA) ศึกษาและพัฒนาธุรกิจในการทำ "MaCh- arge Platform " สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (EV Bike)
กันยายน อนุมัติดำเนินการซื้อหุ้นคืนวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาทโดยเป็นจำนวนหุ้นไม่เกิน 10 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 1.67% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้ว
พฤศจิกายน ลงนามสัญญาว่าจ้างงานเปลี่ยนระบบสายไฟลงดินส่วนต่อขยายรถไฟสายสีม่วง มูลค่า 351 ล้านบาท
พฤศจิกายน ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ บริษัท สเทิร์น โปรวอเตอร์ซัพพลาย จำกัด (EPW) เพื่อดำเนินการจัดจำหน่ายน้ำดิบให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC
ธันวาคม ลงนามสัญญาโครงการจ้างเหมาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบควบคุมและระบบป้องกันสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 1 ตามงบประมาณลงทุนประจำปี 2565 (เพิ่มเติม) รายการที่ 2 (กลุ่มที่ 2)ระหว่าง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในการดำเนินการจ้างเหมาปรับปรุงประสิทธิภาพระบบควบคุมและป้องกันสถานีไฟฟ้า มูลค่า87 ล้านบาท